วันเสาร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2555

10 คำถามก่อนตัดสินใจเลี้ยงสุนัข





(จงซื่อสัตย์ต่อตนเองในการตอบนะคะ และคิดให้ดีๆ ก่อนที่จะตอบ)

การเลือกสุนัขถือเปนพื้นฐานสำคัญของความสัมพันธที่เต ิมเต็มและยาวนานระหว่างคุณและสุนัขของคุณอย่างน ้อยๆ ก็ต้อง 10 ปีขึ้นไป แต่ว่าก่อนที่คุณจะรับหรือซื้อสุนัขมาเลี้ยงโปรดจงถา มตัวเองว่าอะไรคือแรงจูงใจที่จะนำสุนัขเข้ามาในชีวิต ของคุณ ไม่จำเป็น ต้องให้ใครมาช่วยคุณคิด แตคุณต้องซื่อสัตยกับตัวเองอยางมากที่สุด เพราะวาคุณไมสามารถหลอกสุนัขได้ คุณต้องรูตัวเองก่อนที่จะรู้จักสุนัขของคุณ ก่อนที่คุณตัดสินใจจะเป็นเจ้าของสุนัข 

1.ฉันตั้งใจมั่นจะพาสุนัขไปเดินอยางน้อยชั่วโมงครึ่ง ทุกวัน ใช่หรือไม่ 
(หรือ ฉันจะแค่ปล่อยสุนัขให้ไปอยู่ที่สนามหลังบ้านและหาเหต ุผลเข้าข้างตัวเอง ว่า 
สุนัขได้ “ออกกกำลังกายนอกบาน” อย่างเต็มที่แล้ว ใช่หรือไม่)

2.ฉันตั้งใจมั่นที่จะเรียนรูวิธีที่จะกลายเปนจ่าฝูงท ี่สุขุมมั่นคงให้กับสุนัขของฉัน ใชหรือไม่ 
(หรือ ฉันจะยอมตามใจสุนัขทุกเรื่อง เพราะทำได้ง่ายกว่า ใช่หรือไม่)

3.ฉันตั้งใจมั่นจะกำหนดกฎระเบียบ ขอบเขต และขอจำกัดที่ชัดเจนในบ้านของฉัน ใช่หรือไม่
(หรือ ฉันจะปลอยใหสุนัขของฉันทำอะไรก็ได หรือเมื่อไรก็ไดที่สุนัขตองการ ใชหรือไม)

4.ฉันตั้งใจมั่นจะจัดหาอาหารและน้ำให้กับสุนัขของฉัน เป็นประจำ ใช่หรือไม่ 
(หรือ ฉันจะใหอาหารเฉพาะเวลาที่ฉันจำได ใชหรือไม)

5.ฉันตั้งใจมั่นว่าจะให้ความรักเฉพาะเวลาที่เหมาะสมเ ท่านั้น และเมื่อสุนัขอยูในภาวะที่สงบยอมจำนน ใช่หรือไม่ 
(หรือ ฉันจะกอดและจูบสุนัขเมื่อเกิดความกลัวหรือกาวรา ว หรือเมื่อเวลาที่ฉันอยากแสดงความรัก ใชหรือไม)

6.ฉันตั้งใจมั่นจะพาสุนัขไปหาสัตวแพทยเป็นประจำสม่ำเ สมอ ทำให้มั่นใจว่าสุนัขจะได้ทำหมันและตอน สุนัขจะได้ 
รับการตรวจสุขภาพ และได้รับการฉีดยาที่เหมาะสม จำเป็น ใช่หรือไม่ 
(หรือวาฉันจะพาสุนัขไปหาหมอเฉพาะเวลาที่ปวยหรือไดรับ บาดเจ็บ ใชหรือไม)

7.ฉันต้องทำให้มั่นใจว่า สุนัขของฉันชอบเขาสังคม และ/หรือรับ การฝึกอย่างเหมาะสม ดังนั้นสุนัขจะไม่เป็น 
อันตรายกับสัตว อื่นหรือผู้คน ใช่หรือไม่
(หรือ ฉันไดแตหวังวาสุนัขจะทำตัวดีและคอยเตือนผูคนใหถอยออก หางจากสุนัขของฉัน ใชหรือไม)

8.ฉันเต็มใจจะเก็บอุจจาระหลังจากที่สุนัขถ่ายทุกครั้ ง เมื่อพาสุนัขไปเดิน ใช่หรือไม่
(หรือ ฉันคิดวาอุจจาระสุนัขของฉัน ควรเปนภาระของคนอื่นที่ตองเก็บแทน ใชหรือไม)

9.ฉันเต็มใจจะเรียนรูจิตวิทยาสุนัขในเรื่องทั่วๆ ไป และความต้องการที่เฉพาะเจาะจงในสายพันธุของสุนัขแบบล งใน
รายละเอียด ใช่หรือไม่
(หรือ ว่าฉันเพียงแค่ทำไปตามสัญชาตญาณ ใช่หรือไม่)

10.ฉันเต็มใจที่จะเตรียมเงินไว้บางส่วน เผื่อไว้ในกรณีที่ต้องเรียกหาผู้เชี่ยวชาญในการปรับพ ฤติกรรม หรือต้องรีบไป
หาสัตวแพทย์กับการรักษาแบบฉุกเฉิน ใช่หรือไม่
(หรือ สุนัขจะได้หรือไม ก็ขึ้นอยูกับสิ่งที่ฉันสามารถจะหาให้ได้ในขณะนั ้น ใช่หรือไม่)

ขอแนะนำวาคุณควร ตอบ “ใช่” กับสวนแรกของคำถามที่สำคัญเหลานี้ทุกๆ ขอ 
และตอบวา “ไม่” กับสวนของคำถามที่อยูในวงเล็บทุกข้อ 




 " คุณสอบผ่านหรือไม่ครับ? ตอบใช่และไม่ครบทุกข้อหรือป่าว 
ถ้าหากวาคุณสอบผ่าน ผมยินดีดวยนะครับ คุณก็พรอมที่จะมีสุนัข

แต่ถ้าไม่ คุณอาจจะต้องคิดทบทวนใหม่ ในสัตว์ที่จะซื้อหรือรับมาเลี้ยง 
คุณอาจจะเลี้ยงแมวแทนสุนัข หรือรอให้คุณมีความพร้อมในเรื่องการรับผิดชอบมากกว่านี้
แล้วค่อยมาตอบคำถามทั้ง 10 ข้อของผม ซีซาร์ มิลลาน...นักปรับพฤติกรรมสุนัข อีกครั้ง "






--ขอขอบคุณข้อมูลจากหนังสือของซีซาร์ มิลลาน คู่มือสุนัขสำหรับคนที่รักสุนัขตัวจริง--

วันพุธที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2555

วิธีลงโทษสุนัขที่ถูกต้อง



 สำหรับเพื่อนๆ ที่เลี้ยงสุนัข คงจะทราบกันดีว่า กว่าที่เราจะฝึกสุนัขให้ทำตามกฎของบ้านและทำตามคำสั่งของเราได้นั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เพราะในบางครั้งเจ้าตัวซนก็เกิดอาการ "ขัดขืน" และ "แข็งข้อ" ไม่ยอมทำตามคำสั่งเอาซะดื้อๆ ...
     แน่นอนค่ะว่า เมื่อเกิดพฤติกรรมแบบนี้ มันก็ต้องมีการลงโทษกันบ้างเป็นธรรมดา เพื่อนๆ บางคนอาจจะใช้วิธีดุด้วยเสียงดังๆ หรือาจจะใช้วิธีการตี ซึ่งเหมี่ยวขอบอกไว้เลยนะคะว่านั่นเป็นวิธีการที่ผิดมหันต์เลยทีเดียว!!!

     การดุหรือการตีนั้นอาจทำให้สุนัขกลัวได้ก็จริง แต่วิธีนี้จะไม่ได้ช่วยให้สุนัขจดจำคำสั่งหรือการฝึกต่างๆ ได้ ในทางกลับกันอาจทำให้การฝึกไม่ประสบความสำเร็จอีกด้วยล่ะค่ะ ... 



 การตะโกนดุสุนัขที่ผู้เลี้ยงหลายๆ คนมักทำนั้น จะยิ่งเป็นการทำให้นิสัยของสุนัขเป็นไปในแง่ลบมากขึ้น เพราะโดยธรรมชาติแล้วสุนัขจะมีพฤติกรรมที่เรียกร้องความสนใจจากเจ้าของอยู่แล้วไม่ว่าจะเป็นเง่บวกหรือแง่ลบก็ตาม ดังนั้น ถ้าหนึ่งในพฤติกรรมเลวร้ายของสุนัขทำให้เราสนใจ สุนัขก็จะอยากทำพฤติกรรมแบบนั้นอีก
     ในการลงโทษสุนัขที่ทำผิด ผู้เลี้ยงจะต้องลงโทษทันทีในขณะที่เค้ากำลังทำความผิด อย่าลงโทษหลังจากที่สุนัขทำผิดไปแล้ว เพราะสุนัขไม่มีทางที่จะเข้าใจได้ว่าเราโกรธเค้าเพราะสิ่งที่เค้าทำเมื่อหนึ่งชั่วโมงก่อน สุนัขจะรู้แค่ว่าเราโกรธ หรือบางทีอาจจะเข้าใจว่าเราโกรธเพราะสิ่งที่เค้ากำลังทำอยู่ในตอนนั้นก็ได้
     อย่าตีหรือลงโทษสุนัขอย่างรุนแรง เพราะนั่นจะทำให้สุนัขหวาดกลัวเจ้าของ และในกรณีที่สุนัขตัวที่เราดุนั่น เป็นสุนัขที่เป็นหัวหน้าฝูง สุนัขจะมีระดับความก้าวร้าวในสัญชาตญาณที่ค่อนข้างสูง การลงโทษด้วยวิธีการรุนแรงอาจทำให้สุนัขแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว เช่น ขู่ หรือกัด เราก็ได้


พยายามจบการฝึกสุนัขด้วยทัศนคติในแง่บวก เช่น ถ้าสุนัขยังไม่สามารถทำตามคำสั่งใหม่ๆ ได้ ให้ผู้เลี้ยงจบการฝึกด้วยคำสั่งที่สุนัขสามารถทำได้อย่างยอดเยี่ยม เมื่อเค้าทำได้คุณผู้เลี้ยงก็อย่าลืมชมเค้าด้วยล่ะ
     ช่วงเวลาและสถานที่ในการฝึก ควรใช้ช่วงเวลาและสถานที่เดิมๆ และน้ำเสียงที่ใช้ในการฝึกก็ควรเป็นน้ำเสียงในลักษณะเดิม และต้องตรวจดูก่อนด้วยว่าในระหว่างการฝึกนั้นสุนัขสนใจคำสั่งของเราหรือไม่

     เทคนิคที่แนะนำนี้ควรจะใช้ทุกครั้งที่มีการฝึกสุนัข ใช้ให้ชินทั้งคุณผู้เลี้ยงและสุนัข วิธีนี้จะทำให้น้องหมาของคุณมีระเบียบและเข้าใจกฎของบ้านมากขึ้นด้วยล่ะค่ะ ^^




ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก
www.doglike.com




วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2555

เมื่อสุนัขเห่า เขาต้องการสื่อสารอะไร?





 สำหรับมนุษย์ "การพูด" เป็นวิธีการสื่อสารหลักที่ใช้ในชีวิตประจำวัน "การเห่า" ก็ถือเป็นวิธีการสื่อสารหลักที่ใช้ในชีวิตประจำวันของสุนัขเช่นกัน การที่สุนัขเห่าในแต่ละครั้งนั้นถ้าหากผู้เลี้ยงสังเกตให้ดีจะพบว่า ลักษณะการเห่าจะแตกต่างออกไปตามปัจจัยต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสิ่งแวดล้อม ณ เวลานั้นๆ เช่น เห่าเมื่อมีคนแปลกหน้าเข้ามาบริเวณบ้าน , เห่าเมื่อเห็นสิ่งมีชีวิตต่างๆ (นก , หนู , งู ฯ) , เห่าเมื่อเวลาที่ไม่มีใครอยู่บ้าน เป็นต้น

     และด้วยลักษณะการเห่าที่แตกต่างกันนี้บ่งบอกถึงสิ่งที่สุนัขต้องการจะสื่อสารให้ผู้เลี้ยงรับรู้ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านพฤติกรรมสุนัขจึงให้คำแนะนำกับผู้เลี้ยงว่า ถ้าหากผู้เลี้ยงอยากเข้าใจสุนัขของตัวเองมากขึ้น ก็ควรจะเรียนรู้และเข้าใจถึงความหมายของลักษณะการเห่าในแบบต่างๆ เพื่อที่จะได้เข้าใจว่าสุนัขต้องการจะบอกอะไรกับเรา ... เพื่อให้คุณผู้เลี้ยงกับสุนัขเข้าใจกันมากขึ้น วันนี้มะเหมี่ยวก็เลยรวบรวมเอาความหมายของลักษณะการเห่าในแบบต่างๆ ของสุนัขมาให้ดูกันค่ะ ...

•  เห่าติดต่อกันเป็นชุด ๆ 3-4 ครั้ง โดยมีช่วงหยุดระหว่างชุด ..... การเห่าแบบนี้เป็นการชี้ชวนเจ้าของให้มาดูบางสิ่งบางอย่าง "เจ้านายมาดูนี่สิ น่าสนใจมากๆ เลย!!"
     •  เห่าเร็ว ๆ ติดต่อกันด้วยโทนเสียงปานกลาง ..... การเห่าแบบนี้เป็นการเห่าในลักษณะเตือนภัย เพื่อบอกให้รู้ว่ามีบางสิ่งบางอย่างผิดปกติไม่น่าไว้ใน "อะไรน่ะ ๆๆ!!"
     •  เห่าด้วยเสียงต่ำๆ ติดต่อกันอย่างช้าๆ ..... อันตรายมากๆ เลยทีเดียวการเห่าแบบนี้ เพราะสุนัขกำลังบอกเราว่า ตอนนี้กำลังมีภัยประชิดตัวเขาอยู่ "อย่าเข้ามานะ ช่วยด้วย!!" 
     •  เห่าแล้วหยุด เห่าแล้วหยุด ติดต่อกันเป็นเวลานานๆ ..... การเห่าแบบนี้เกิดขึ้นบ่อยๆ กับสุนัขที่ถูกทิ้งให้อยู่บ้านตัวเดียว เขากำลังบอกกับเราว่า "เฮ้ มีใครอยู่รึเปล่า ตอนนี้ฉันเหงามากเลย มาเล่นกันหน่อยสิ 





 •  เห่าสั้นๆ ครั้งสองครั้ง ..... การเห่าแบบนี้ถือเป็นการทักทายปกติของสุนัขค่ะ "สวัสดีเจ้านาย"
     •  เห่าครั้งเดียวสั้นๆ เมื่อเจ้าของหรือสุนัขอีกตัวกำลังยุ่งอยู่กับเขา ...... การเห่าแบบนี้แสดงถึงความรำคาญ "หยุดยุ่งกับฉันได้รึเปล่า ขอเวลาเป็นส่วนตัวบ้างอะไรบ้าง" (555+)
     •  ลูกสุนัขเห่าติดต่อกัน ...... การเห่าแบบนี้พบได้บ่อยในลูกสุนัข หรือเวลาที่สุนัขต้องการจะเล่นกับเรา เป็นพฤติกรรมเรียกร้องความสนใจอย่างหนึ่ง "สนใจฉันหน่อย"
     •  เห่าครั้งเดียวสั้นๆ เป็นการเรียกเจ้าของ ..... เห่าแบบนี้เข้าใจได้เลยว่าสุนัขกำลังหิวหรืออาจจะอยากออกไปขับถ่ายนอกบ้าน
     •  เห่าติดๆ กันรัวและดังขึ้นเรื่อยๆ ..... การเห่าแบบนี้มักจะเกิดขึ้นตอนที่ผู้เลี้ยงเล่นกันสุนัขเป็นการแสดงออกถึงความสนุกสนาน และรู้สึกดีกับกิจกรรมนั้น "สนุกจังเลย วู้วววว"
     •  เห่าด้วยโทนเสียงต่ำ หูตั้ง ขนหลังตั้งชัน ชูหางและยืนอยู่ในท่าเตรียมพร้อม ... การเห่าแบบนี้เป็นการส่งสัญญาบอกว่าอย่าเข้ามาใกล้ตัวเขาเป็นอันขาด "อย่าเข้ามานะ ฮึ่ม!!!" 


 ผู้เลี้ยงสุนัขหลายคนมักเข้าใจว่าการเหาของสุนัขนั้นทำไปตามธรรมชาติ โดยไม่ได้มีความหมายอะไร แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่เลยค่ะ การเห่าในแต่ละครั้งของสุนัขเป็นพฤติกรรมที่แสดงออกมาเพื่อต้องการสื่อสารบางสิ่งบางอย่างให้ผู้เลี้ยงหรือสัตว์เลี้ยงด้วยกันเองรับรู้ ดังนั้น ลองสังเกตพฤติกรรมการเห่าของสุนัขที่เพื่อนๆ เลี้ยงไว้ดูนะคะ สังเกตและเก็บรายละเอียดให้ดี วิธีจะช่วยให้เราเข้าใจและสื่อสารกับสุนัขได้ง่ายขึ้นค่ะ 



ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก


ฝึกลูกสุนัขไม่ให้แทะสิ่งของ ตามวิถีซีซาร์ มิลลาน




"ทำไมเป็นหมาแบบนี้!!" 
ช่วงอายุ 4-6 เดือนของน้องหมา เพื่อนๆ อาจต้องใช้คำนี้อยู่บ่อยๆ 
เพราะข้าวของภายในบ้านมักเป็นรอยฟันแทะ 
เหยื่อยอดฮิตเลยคือรองเท้า ผู้เลี้ยงทั้งหลายมักไม่เข้าใจแล้วรู้สึกว่า
ทำไมเราได้สุนัขนิสัยแย่ๆ มาเลี้ยงนะ หนักเข้ามาเกิดกับรองเท้าคู่โปรด 
ก็ใช้บทลงโทษรุนแรงกับน้องหมาผู้น่าสงสารอีก วันนี้เรามาฝึกน้องหมาเรื่องนี้กันดีกว่า
   ก่อนฝึกต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่าช่วงเวลา 4-6 เดือน เป็นช่วงฟันขึ้น สุนัขจะรู้สึกถึงสิ่งผิดปกติภายในปาก พวกเขาพยายามคลายความรำคาญภายในปากตัวเองด้วยการกัดแทะสิ่งต่างๆ ไม่ใช่การทำไปเพื่อความสนุกที่อาจเกิดกับสุนัขที่พ้นวัยฟันขึ้น
   - การฝึกเริ่มต้นที่การซื้อของเล่นมาให้สุนัข คอยจับตาดูว่าเมื่อใดที่สุนัขแตะต้องรองเท้า ให้เอาของกินหลอกล่อความสนใจสุนัขไปที่ของเล่นสำหรับแทะตอนฟันขึ้น ฝึกให้สุนัขรู้ว่าสิ่งไหนไม่ใช่ของตน
  - หลีกเลี่ยงการยึดของคืน ด้วยการดึง,กระชาก มาจากปาก เพราะสุนัขจะไม่เข้าใจความหมายแต่เห็นเป็นเกมวางอำนาจ จะส่งผลเสียในวันข้างหน้าได้
  - ผู้ฝึกสุนัขชื่อดัง ซีซาร์ มิลลาน แนะนำวิธีเบี่ยงเบนความสนใจสุนัขด้วยกิจกรรมต่างๆ เช่น การว่ายน้ำในอ่างเล็กๆ หรือการออกไปเดินเล่น วิธีเหล่านี้ช่วยให้สุนัขลืมความรำคาญในปากไปได้
ส่วนช่วง 6-10 เดือน ช่วงที่ฟันแท้สุนัขกำลังขึ้น คือช่วงเวลาที่ดูแลยากกว่าช่วงแรกมาก ควรหาของเล่นสำหรับแทะให้เหมาะกับวัยและพาออกกำลังกายให้มากๆ จะช่วยฝึกไม่ให้สุนัขกัดแทะสิ่งของได้
 ถ้าน้องหมาอยู่ในช่วงวัยดังกล่าวแล้วกัดแทะข้าวของเสียหาย อย่าไปลงโทษเขานะครับให้เริ่มฝึกด้วยความเข้าใจ พวกเขาจะเป็นสุนัขที่ดีแน่นอน



ขอบคุณบทความดีๆจาก