วันพฤหัสบดีที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2555

โรคข้อสะโพกเสื่อม

โรคข้อสะโพกเสื่อม ( Hip Dysplasia )

เป็นโรคกระดูกที่พบได้มากในสุนัขพันธุ์ใหญ่ ( Giant and large breed ) โดยพบมากถึง 1 ใน 3 ของโรคกระดูกทั้งหมาโดยโรคนี้จะมีพัฒนาการในช่วงที่มีการเจริญเ ติบโตของกระดูกจึงอาจพบได้ตั้งแต่ 4-12 เดือน


สาเหตุและปัจจัยโน้มนำ
1. กรรมพันธุ์
กรรมพันธุ์มักเป็นสาเหตุเริ่มแรกของโรคและมักจะเกิดร่วมก ับปัจจัยอื่นๆ ทำให้ความรุนแรงมากขึ้นพบว่าลูกสุนัขที่เกิ ดจากพ่อ-แม่ที่ไม่แสดงอาการของโรคอาจป่วยด้วยโรคนี้ได้ส่วนลูกส ุนัขที่เกิดจากพ่อ-แม่ที่ป่วยด้วยโรคข้อสะโพกเสื่อมจะมีเพียง 7% เท่านั้นที่ปกติ
2. โภชนาการ
การให้อาหารเต็มที่ตลอดเวลาจะทำให้มีโอกาสเกิดโรคสูงควรใ ห้ปริมาณอาหารเพียง 60-70% ของปริมาณอาหารที่สุนัขกินได้
3. อัตราการเจริญเติบโตและขนาดตัวของสุนัข
ลูกสุนัขที่มีอัตราการเจริญเติบโตเร็และมีน้ำหนักตัวมากจ ะมีแนวโน้มเกิดปัญหาได้มากกว่า
4. สภาพแวดล้อมและการเลี้ยงดู
กรณีที่ลูกสุนัขมีแนวโน้มเป็นโรคข้อสะโพกเสื่อมหากมีการอ อกกำลังกายที่มากจะทำให้แนวโน้มการเกิดโรคสูงขึ้น นอกจากนี้สภาพพื้นผิวที่สุนัขอยู่หากเรียบและลื่นก็จะทำให้สุนั ขที่มีปัญหาอยู่แสดงอาการได้เร็วและรุนแรงขึ้น 


อาการ
1. ความสามารถในการออกกำลังกายลดลง
2. การลุกยืนหรือนั่งทำได้ช้าหรือลำบากมากกว่าปกติ
3. สุนัขไม่พยายามหรือไม่สามารถกระโดด ก้าวขึ้นหรือลงบันไดหรือรถยนต์ได้
4. บางครั้งอาจได้ยินเสียงคลิกที่บริเวณสะโพก เวลาสุนัขเดิน
5. ลักษณะการวิ่งจะใช้ 2 ขาหลังก้าวไปพร้อมๆ กัน
6. มีอาการเจ็บขาเด่นชัดมากขึ้นหลังการออกกำลังกายอาจแสดงอาการของ ขาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง 
7. สุนัขจะยืนในลักษณะหลังงอ กล้ามเนื้อบริเวณขาหลังและสะโพกลีบเล็กลง บางครั้งสุนัขจะ ยืนลักษณะขาชิดแต่ปลายเท้าแบะออก 


การวินิจฉัยโรค
1. การถ่ายภาพรังสีเอ็กซ์เรย์
ใช้ประเมินความรุนแรงของโรคได้ในช่วงอายุ 12-18 เดือน สำหรับลูกสุนัขที่มีปัญหารุนแรงสามารถพบการเปลี่ยนแปลงของข้อต่ อได้เร็วกว่านี้
2. การตรวจข้อสะโพก 
ตรวจได้ตั้งแต่ลูกสุนัขอายุประมาณ 8 สัปดาห์ ซึ่งยังมองไม่เห็นความผิดปกติด้วยภาพถ่ายรังสี

การรักษา แบ่งเป็น 2 ลักษณะคือ
1. การรักษาทางยา
2. การรักษาทางการผ่าตัด

การรักษาทางยา
เป็นการรักษากรณีที่เริ่มมีอาการโดยการใช้ยาแก้ปวดลดอักเ สบ รวมทั้งการใช้สารเสริมอาหารพวกกลูโคซาไมด์และคอนดรอยติน ร่วมไปกับการควบคุมปริมาณอาหารที่เหมาะสม นอกจากนี้ควรให้สุนัขมีการออกกำลังกายที่เหมาะสม

การรักษาโดยการผ่าตัด มีจุดประสงค์เพื่อ
1. ลดอาการเจ็บปวดบริเวณข้อต่อ
2. เพื่อให้สุนัขสามารถกลับมาใช้ขารับน้ำหนักได้
3. เพื่อลดการดำเนินไปของโรค
แต่อย่างไรก็ตามการผ่าตัดในกรณีที่ป่วยมานาน กล้ามเนื้อขาเริ่มลีบ จะให้ผลการรักษาที่ไม่ค่อยดีนัก


วิธีทำกายภาพกรณีข้อสะโพกเสื่อม
สัปดาห์ที่ 1
1. ใช้ถุงน้ำร้อนประคบบริเวณสะโพกนาน 15-20 นาที แล้วทำการยืด-หดขา 10-15 ครั้ง ทำ 2-3 ครั้งต่อวัน
2. จูงสุนัขเดินนาน 10-20 นาที อย่างน้อย 2 ครั้งและไม่ควรเกิน 3 ครั้งต่อวัน
3. สังเกตุการตอบสนองของสุนัขโดยไม่ให้ยาใดๆ
4. ถ้าสุนัขมีอาการเจ็บบริเวณข้อ ให้ลดกิจกรรมต่างๆลง 50% และให้ยาลดอาการปวดก่อนทำกายถาพบำบัด 30-60 นาที
5. พิจารณาประคบเย็นบริเวณข้อสะโพกหลังการทำกายภาพบำบัด

สัปดาห์ที่ 2-4
1. ใช้ถุงน้ำร้อนประคบบริเวณสะโพกนาน 15-20นาที
2. ยืด-หดขาและเพิ่มเวลาการเดิน
3. เริ่มให้สุนัขเดินในทางลาดชัน ขึ้นหรือลงบันได
4. เริ่มให้สุนัขลุกและนั่ง 2 ครั้งต่อวัน
5. ให้ว่ายน้ำ 3-5 นาที 3 ครั้งต่อสัปดาห์ และให้เพิ่มระยะเวลา หากสุนัขมีการตอบสนองที่ดีขึ้น

สัปดาห์ที่ 5-12 
1. ใช้ถุงน้ำร้อนประคบบริเวณสะโพกนาน 15-20 นาที
2. ยืด-หดขา และจูงเดิน
3. เริ่มให้สุนัขวิ่งเหยาะและเล่นนาน 20-30 นาที 1-2 ครั้งต่อวัน
4. ให้ว่ายน้ำนาน 10 นาที 3 ครั้งต่อวัน



ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก
***ข้อมูลทางวิชาการจาก โรงพยาบาลสัตว์สุวรรณชาด***
http://www.mylovegolden.net/webboard/viewtopic.php?f=11&t=260

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น